วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเลี้ยงผลึกสารส้ม
เริ่มจากการเตรียมสารละลายอิ่มตัวของสารส้มก่อน โดยการนำสารส้มมาละลายน้ำที่อุณหภูมิห้องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสารส้มไม่สามารถละลายได้อีกแล้ว
    
ต่อไปจึงนำสารละลายที่ได้ไปตั้งไฟให้ความร้อนแล้วเติมสารส้มลงไปอีกพอประมาณ คนจนกระทั่งสารส้มละลายหมด เนื่องจากการละลายของสารแต่ละชนิดจะมีขอบเขตจำกัดอยู่ที่อุณหภูมิแต่ละค่า เมื่ออุณหภูมิของระบบสูงขึ้นสารส้มจึงละลายได้มากขึ้น
หลังจากนั้นก็ให้นำสารละลายสารส้มลงมาปล่อยให้เย็นตัวลง เมื่ออุณหภมิของระบบลดลงแล้ว สารส้มส่วนหนึ่งที่เกินจากค่าการละลายได้ที่อุณหภูมิห้องจะเริ่มตกผลึกออกมา ช่วงนี้อาจหาเชือกหย่อนลงไปในภาชนะบรรจุสารละลายเพื่อให้ผลึกสารส้มมาเกาะ ในช่วงของการตกผลึกนี้ถ้าอยากได้ผลึกที่มีขนาดใหญ่ก็ต้องควบคุมให้สารละลายเย็นตัวอย่างช้าๆ อาจหาผ้าหนาๆ มาพันรอบภาชนะที่บรรจุไว้ เพราะถ้าสารละลายเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วก็จะได้ผลึกขนาดเล็กละเอียดจำนวนมาก
เมื่อได้ผลึกมาแล้วให้คัดเลือกผลึกที่สมบูรณ์ที่สุด โดยผลึกสารส้มที่สมบูรณ์จะเป็นรูปพีระมิด 2 อัน เอาฐานชนกัน ให้นำผลึกที่เราเลือกไว้แล้ว ใส่ลงไปในสารละลายเข้มข้นที่เราเตรียมด้วยวิธีการเดิมอีกครั้ง ให้ระวังว่าก่อนหย่อนผลึกสารส้มที่เราเลือกมาลงไปต้องให้สารละลายอิ่มตัวมีอุณหภูมิลดลงก่อน มิฉะนั้น ผลึกที่เราหย่อนลงไปก็จะละลายไปด้วย ทำซ้ำหลายๆครั้งจะได้ผลึกที่สมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ขึ้น
เชีย เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประชากรเอเชียเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า[1]
ตามบทนิยามที่เสนอโดยสารานุกรมบริตานิกา[2] และสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก[3] เอเชียมีพื้นที่ 4/5 ของทวีปยูเรเชีย โดยมีส่วนตะวันตกของยูเรเชียเป็นทวีปยุโรป เอเชียตั้งอยู่ทางตะวันออกของคลองสุเอซ ตะวันออกของเทือกเขาอูราล และใต้เทือกเขาคอเคซัส (หรือแอ่งคูมา-มานิช) และทะเลสาบแคสเปียนและทะเลดำ พรมแดนตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และเหนือติดมหาสมุทรอาร์กติก มีหนึ่งประเทศตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ ไซปรัส เอเชียเป็นทวีปที่มีความหลากหลายมาก ทั้งกลุ่มเชื้อชาติ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ความผูกพันทางประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


บทที่ 1  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ
ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์

ก่อนที่จะกล่าวถึงประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ คำถามหนึ่งที่น่าสนใจคือ ทำไมเราจึงต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ จากความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆในโลกต่างต้องประสบกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจร่วมกัน อันเนื่องมาจากความไม่สมดุลระหว่างปริมาณของทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีอยู่อย่างจำกัดกับความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ทำให้จำเป็นต้องมีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดที่จะนำมาใช้จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัดให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเฉพาะแต่ผู้เรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์เท่านั้นที่จำเป็นต้อง ศึกษาวิชาการนี้ ผู้เรียนในสาขาอื่นๆรวมทั้งประชาชนทั่วไปก็ควรมีความรู้พื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์ด้วย เพื่อจะได้มีความเข้าใจในปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นในระดับส่วนตัว ครอบครัว หรือระดับของประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่ทุกๆคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล ดังนั้นการมีความรู้พื้นฐาน ทางด้านเศรษฐศาสตร์จะเป็นประโยชน์ต่อตัวของบุคคลนั้นทั้งทางตรงและทางอ้อม 
ผู้ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมายดังนี้ 
ในฐานะผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่ทำให้ตนได้รับความพอใจสูงสุดภายใต้ระดับรายได้ที่มีอยู่ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆได้เป็นอย่างดี เช่น สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการได้อย่างถูกต้องและมีเหตุมีผล กำหนดแผนการบริโภค การออม และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น 
ในฐานะผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิตตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิต สินค้าและบริการอย่างคุ้มค่า ประหยัด ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้ธุรกิจได้รับกำไรเพิ่มขึ้น และใน ทำนองเดียวกับผู้บริโภคคือทำให้ผู้ผลิตมีความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เช่น เข้าใจ ในความเป็นไปของปรากฏการณ์ของวัฏจักรเศรษฐกิจว่าโดยปกติเศรษฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆอย่างนี้เรื่อยไป ทำให้ผู้ผลิตสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนในการดำเนินธุรกิจเหมาะสมกับสถานการณ์ ในขณะนั้นๆ เป็นต้น 
ในฐานะรัฐบาล การที่รัฐบาลมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะทำให้เข้าใจลักษณะและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจและหาแนวทาง แก้ไข โดยกำหนดออกมาเป็นแผนและนโยบายทางเศรษฐกิจที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพ และประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ